แจ้งซ่อมด่วน
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    
สถิติ
เปิดเมื่อ15/08/2012
อัพเดท18/02/2013
ผู้เข้าชม65043
แสดงหน้า77401




ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน

อ่าน 10540 | ตอบ 6
 ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน                        
             
        
             ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีอิทธิพลมากในชีวิตประจำวันของเราตั้งแต่เกิดจน กระทั่งตาย เราสามารถนำไฟฟ้ามาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆเช่น ด้านแสงสว่าง ด้านความร้อน ด้านพลังงาน ด้านเสียง เป็นต้น และการใช้ประโยชน์จากไฟฟ้าก็ต้องใช้อย่างระมัดระวัง ต้องเรียนรู้การใช้ที่ถูกวิธี ต้องรู้วิธีการป้องกันที่ถูกต้อง ในที่นี้จะขอกล่าวถึงประเภทของไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันที่ควรจะรู้จัก
             1. ไฟฟ้ากระแสตรง (direct current) หมายถึง กระแสไฟฟ้าที่มีทิศทางไหลไปในทิศทางเดียวเสมอคือไหลจากขั้วบวกไปสู่ขั้วลบ (กระแส สมมุติ) กระแสจะไหลจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้าผ่านตัวนำเข้าไปทำงานยังอุปกรณ์ไฟฟ้าแล้วไหล กลับแหล่งกำเนิดโดยไม่มีการไหลกลับขั้วจากลบไปบวก ในงานควบคุมมอเตอร์มักจะนำไฟฟ้ากระแสตรงไปใช้ในวงจรควบคุม ในงานควบคุมมอเตอร์มักจะนำไฟฟ้ากระแสตรงไปใช้ในวงจรควบคุม แหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้ากระแสตรง คือ แหล่งพลังงานไฟฟ้าที่ไม่มีการเปลี่ยนทิศทางการไหลของกระแสในช่วงการจ่าย เช่น แบตเตอรี่และแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ฯลฯ                   

             2. ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current) หมายถึง ไฟฟ้ากระแสที่มีทิศทางการเคลื่อนที่สลับกัน โดยกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในขดลวดตัวนำของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า กระแสสลับซึ่งมีอยู่3ชนิดคือ ไฟฟ้ากระแสสลับ เฟสเดียว สองเฟส และสามเฟส ในปัจจุบันนิยมใช้เพียง 2 ชนิดเท่านั้น คือ กระแสไฟฟ้าสลับเฟสเดียวกับสามเฟส ลักษณะ การเกิดไฟฟ้ากระแสสลับ คือ ขดลวดชุดเดียวหมุนตัดเส้นแรงแม่เหล็ก เกิดแรงดันกระแสไฟฟ้าทำให้กระแสไหลไปยังวงจรภายนอก โดยผ่านวงแหวนและแปลงถ่านดังกล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่าเมื่อออกแรงหมุนลวดตัวนำได้ 1 รอบ จะได้กระแสไฟฟ้าชุดเดียวเท่านั้น ถ้าต้องการให้ได้ปริมาณกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ก็ต้องใช้ลวดตัวนำหลายชุดไว้บนแกนที่หมุน ดังนั้นในการออกแบบขดลวดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับถ้าหากออกแบบชุดขด ลวดบนแกนให้เพิ่มขึ้นอีก 1 ชุด แล้วจะได้กำลังไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ไฟฟ้ากระแสสลับสามเฟส (Three Phase) เป็นการพัฒนามาจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับชนิดสองเฟส โดยการออกแบบจัดวาง ขดลวดบนแกนที่หมุนของเครื่องกำเนิดนั้นเป็น 3 ชุด ซึ่งแต่ละชุดนั้นวางห่างกัน 120 องศาทางไฟฟ้าแหล่ง จ่ายกำลังไฟฟ้ากระแสสลับ คือ แหล่งพลังงานไฟฟ้าที่มีการเปลี่ยนทิศทางการไหลของกระแสในช่วงการจ่ายเป็น ระยะๆ กระแสสลับที่แท้จริงมีลักษณะเป็นรูปคลื่นที่ความถี่ 50 Hz หรือ 60 Hz เช่น ไฟฟ้าจากระบบสายส่งการไฟฟ้า

 อุปกรณ์ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันที่ควรรู้จัก
1.เมนสวิตช์ (Main Switch) หรือ สวิตช์ประธาน เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้สำหรับ ตัดต่อวงจรของสายเมน เข้าอาคาร กับสายภายใน ทั้งหมด เป็นอุปกรณ์สับปลด วงจรไฟฟ้าตัวแรก ถัดจากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า (มิเตอร์) ของการนำไฟฟ้า เข้ามาในบ้าน เมนสวิชต์ประกอบด้วย เครื่องปลดวงจร (Disconnecting Means) และเครื่องป้องกันกระแสเกิน (Overcurrent Protective Device) หน้าที่ ของเมนสวิตช์ คือ คอยควบคุมการใช้ไฟฟ้า ให้เกิดความปลอดภัย ในกรณีที่ เกิดกระแสไฟฟ้าเกิน หรือ เกิดไฟฟ้าลัดวงจร เราสามารถสับหรือปลดออกได้ทันที เพื่อตัดไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้ามายังอาคาร
2.เบรกเกอร์ (เซอร์กิตเบรกเกอร์) หรือ สวิชต์อัตโนมัติ หมายถึง อุปกรณ์ที่สามารถใช้สับ หรือปลดวงจรไฟฟ้าได้โดยอัตโนมัติ โดยกระแสลัดวงจรนั้น ต้องไม่เกินขนาดพิกัด ในการตัดกระแสลัดวงจรของเครื่อง (IC)
3. ฟิวส์ เป็นอุปกรณ์ป้องกัน กระแสไฟฟ้าเกินชนิดหนึ่ง โดยจะตัดวงจรไฟฟ้าอัตโนมัติ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเกินค่าที่กำหนด และเมื่อฟิวส์ทำงานแล้ว จะต้องเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ ขนาดพิกัดการตัดกระแสลัดวงจร (IC) ของฟิวส์ต้องไม่ต่ำกว่าขนาดกระแสลัดวงจรที่ผ่านฟิวส์
4. เครื่องตัดไฟรั่ว หมายถึง สวิชต์อัตโนมัติที่สามารถปลดวงจรได้อย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลลงดินในปริมาณที่มากกว่าค่าที่กำหนดไว้ เครื่องตัดไฟรั่วมักจะใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันเสริมกับระบบสายดิน เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด กรณีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้มีไฟรั่วเกิดขึ้น
5. สายดิน คือสายไฟเส้นที่มีไว้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อการใช้ไฟฟ้า ปลายด้านหนึ่งของสายดิน จะต้องมีการต่อลงดิน ส่วนปลายอีกด้านหนึ่ง จะต่อเข้ากับวัตถุหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ต้องการให้มีศักย์ไฟฟ้าเป็นศูนย์เท่ากับพื้นดิน
6. เต้ารับ หรือปลั๊กตัวเมีย คือ ขั้วรับสำหรับหัวเสียบ จากเครื่องใช้ไฟฟ้า ปกติเต้ารับจะติดตั้งอยู่กับที่ เช่น ติดอยู่กับผนังอาคาร เป็นต้น
7. เต้าเสียบ หรือปลั๊กตัวผู้ คือ ขั้วหรือหัวเสียบจากเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อเสียบเข้ากับเต้ารับ ทำให้สามารถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นได้
8. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 1 หมาย ถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปที่มีความหนาของฉนวนไฟฟ้าเพียงพอ สำหรับการใช้งานปกติเท่านั้น โดยมักมีเปลือกนอก ของเครื่องใช้ไฟฟ้าทำด้วยโลหะ เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ ผู้ผลิตจำเป็นจะต้องมีการต่อสายดินของอุปกรณ์ไฟฟ้าเข้ากับส่วนที่เป็นโลหะนั้น เพื่อให้สามารถต่อลงดินมายังตู้เมนสวิชต์ โดยผ่านทางขั้วสายดินของเต้าเสียบ-เต้ารับ
9. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 2 หมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการหุ้มฉนวน ส่วนที่มีไฟฟ้า ด้วยฉนวนที่มีความหนาเป็น 2 เท่าของความหนาที่ใช้สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วๆ ไป เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องต่อสายดิน
10. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 3 หมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับไม่เกิน 50 โวลต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ไม่ต้องมีสายดิน
 

การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าและการช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า  


 
1.การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า 
              สายไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าตามปกติจะต้องมีฉนวนหุ้ม และมีการต่อสายอย่างถูกต้องและแข็งแรง เมื่อใช้ไฟฟ้าเป็นระยะเวลานาน ฉนวนไฟฟ้าอาจ ชำรุดฉีกขาด รอยต่อหลวม หรือหลุดได้ เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าสัมผัสส่วนที่เป็นโลหะจะเกิดกระแสไฟฟ้าผ่านร่างกายลงดิน อันตรายถึงเสียชีวิตได้ จึงควรป้องกันเบื้องต้น ดังนี้คือ
........     1. ตรวจดูฉนวน รอยต่อ ของสายไฟฟ้าก่อนใช้งาน
......       2. ใช้ไขควงขันรอยต่อสายไฟฟ้ากับอุปกรณ์ให้แน่นอยู่ในสภาพดีพร้อมที่จะใช้งาน
2.การปฐมพยาบาลและการเคลื่อนย้ายผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า
              การ ต่อสายดิน คือ การต่อสายไฟฟ้าขนาดที่เหมาะสมจากเปลือกโลหะของอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ ไฟฟ้านั้นลงสู่ดิน เพื่อให้กระแสที่รั่วออกมาไหลลงสู่ดิน ทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าปลอดภัยจากการถูกกระแสไฟฟ้า
3.การต่อสายดินและต่ออุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว
อุปกรณ์การป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว
                การ เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วในระบบจำหน่ายไฟฟ้าทั่วไปนั้น มีโอกาสเกิดขึ้นได้เนื่องจากการใช้งาน ความเสื่อมของฉนวนตามอายุการใช้งานและอุบัติเหตุต่าง ๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ กระแสไฟฟ้ารั่ว และการเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร (short circuit) นั้น ไม่มีผู้ใดทราบล่วงหน้าได้ จึงจำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์ที่ใช้เป็นเครื่องบอกเหต ุต่าง ๆ ไว้ และทำการตัดวงจรไฟฟ้าก่อนที่จะเป็นอันตราย วิศวกรคิดวิธีป้องกันไฟฟ้ารั่วไว้ 2 วิธี คือ
......       วิธีที่ 1 คือ การต่อสายดิน
................
เมื่อกระแสไฟฟ้ารั่วไหลลงดินมีปริมาณมากพอ ทำให้เครื่องตัดวงจรทำงานตัดวงจรกระแสไฟฟ้าในวงจรนั้นออกไป ทำให้ไม่มีกระแสไฟฟ้า
.....        วิธีที่ 2 ใช้เครื่องป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว
                 โดย อาศัยหลักการของการเหนี่ยวนำไฟฟ้าในหม้อแปลงไฟฟ้าในสภาวะปกติกระแสไฟฟ้าไหล เข้า และไหลออกจากอุปกรณ์ไฟฟ้าในวงจรเท่ากัน เส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดขึ้นในแกนเหล็กจากขดลวดปฐมภูมิทั้งสองขดเท่ากัน จึงหักล้างกันหมด กระแสไฟฟ้าในขดลวดทุติยภูมิไม่มี เมื่อกระแสไฟฟ้ารั่วเกิดขึ้น สายไฟฟ้าทั้งสองมีกระแสไหลไม่เท่ากัน ทำให้เกิดเส้นแรงแม่เหล็กในแกนเหล็กเหนี่ยวนำไฟฟ้าขึ้นในขดลวดทุติยภูมิส่งสัญญาณไปทำให้ตัดวงจรไฟฟ้าออก          

               ผู้ประสบอันตรายจากกระแสไฟฟ้าจะเกิดอาการสิ้นสติ (shock) ผู้ที่อยู่ข้างเคียงหรือผู้ที่พบเหตุการณ์จะต้องรีบช่วยเหลืออย่างถูกวิธี ดังนี้           

              ขั้น แรก ตัดวงจรกระแสไฟฟ้าออกโดยเร็ว ขั้นสองแยกผู้ป่วยออกด้วยการใช้ฉนวน เช่น สายยาง ผ้าแห้ง หรือกิ่งไม้แห้งคล้องดึงผู้ป่วยออกจากสายไฟ ห้ามใช้มือจับโดยเด็ดขาด ถ้าผู้ป่วยไม่หายใจให้รีบช่วยหายใจด้วยการจับผู้ป่วยนอนราบไปกับพื้น ยกศีรษะให้หงายขึ้นเล็กน้อยบีบจมูก พร้อมเป่าลมเข้าปากเป็นระยะๆ โดยเป่าให้แรงและเร็ว ประมาณนาทีละ 10 ครั้ง จนเห็นทรวงอกกระเพื่อม ทำต่อไปเรื่อยๆแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล ทำการพยาบาลโดยการให้ออกซิเจนช่วยในการหายใจ และนวดหัวใจด้วย  


แหล่งที่มา         
http://www.leonics.co.th/html/th/aboutpower/current_knowl
ความคิดเห็น :
1
อ้างอิง

555
Slotxo บริการ สล็อตออนไลน์ สล็อตxo แจกเครดิตฟรี พร้อม ทางเข้า slotxo เกมส์ใหม่กว่า 100 เกมส์ สมัคร slotxo ได้เลยตอนนี้ บริการ 24 ชั่วโมง.
Slotxo
สล็อตxo
สล็อตxo บนมือถือ
สมัคร slotxo
สมัคร slotxo รับโบนัสฟรี
 
555 [183.89.81.xxx] เมื่อ 19/09/2020 15:50
2
อ้างอิง

aa
 
aa [183.89.87.xxx] เมื่อ 4/11/2021 04:54
3
อ้างอิง

aa
 
aa [14.207.176.xxx] เมื่อ 12/12/2021 22:41
4
อ้างอิง

aa
 
aa [183.89.83.xxx] เมื่อ 4/02/2022 17:48
5
อ้างอิง

aa
 
aa [14.207.180.xxx] เมื่อ 15/02/2022 19:12
6
อ้างอิง

asa
 
asa [180.183.193.xxx] เมื่อ 3/07/2022 06:05
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :